วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นิยามของกรดเบส

นิยามของกรดเบส
1.นิยามมของอาร์เรเนียส2.นิยามของบรินสเตด-ลาวรี3.นิยามของลิวอิส
นิยามของอาร์เรเนียส

อาร์เนียสไห้นิยามว่า กรดเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่ละลายน้ำเเล้วแตกตัวให้ไฮโรเจนไอออน และ เบสเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวได้ไฮดรอกไซด์ไอออน
กรด 
HCl (g) H + (aq) + Cl - (aq)
CH 3COOH (l) H + (aq) + CH 3COO - (aq)
เบส
NaOH (s) Na + (aq) + OH - (aq)
KOH (s) K + (aq) + OH - (aq)
ข้อจำกัด
  • ทฤษฎีกรด - เบส อาร์เรเนียส จะเน้นเฉพาะการแตกตัวในน้ำ ให้เป็น H + และ OH - ไม่รวมถึงตัวทำละลายอื่นๆ ทำให้อธิบายความเป็นกรด- เบสได้จำกัด
  • สารที่จะเป็นกรดได้ต้องมี H + อยู่ในโมเลกุล และสารที่จะเป็นเบสได้ก็ต้องมี OH - อยู่ในโมเลกุล
นิยามของบริดสเตด-ลาวรี
Johannes Nicolaus Bronsted
Thomas Martin Lowry
J. Bronsted และ T.Lowry ได้เสนอนิยามของกรด-เบสว่า "กรด คือสารทีให้โปรตอน และเบส คือสารที่รับโปรตอน และเรียกปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบสว่า ปฏิกิริยาถ่ายโอนโปรตอน
เช่น

HCl เป็นสารที่ี่ให้โปรตอน (H+) ดังนั้น HCl จึงเป็นกรด
H
2O เป็นสารที่ี่รับโปรตอน (H+) ดังนั้น H2Oจึงเป็นเบส

2.

NH4+ เป็นสารที่ี่ให้โปรตอน (H+) ดังนั้น NH4+จึงเป็นกรด
H
2Oเป็นสารที่ี่รับโปรตอน (H+) ดังนั้น H2Oจึงเป็นเบส

คู๋กรด-เบส

เมื่อกรดไห้Hไปเเล้วส่วนของกรดที่เหลือเรียกว่าคู่เบส

เมื่อเบสรับHไปแล้วจะได้ออกมาเป็นคู่กรด

ข้อจำกัดคือ สารที่จะทำหน้าที่เป็นกรดจะต้องมีโปรตอนอยู่ในสารนั้น

 

นิยามของลิวอิส

ลิวอิส(lewis) ได้เสนอนิยามของกรด-เบส จากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน ว่า

กรด คือสารที่รับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว

เบส คือสารที่ให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว

ซึ่งไห้พันธะ โคเวเลนซ์ประเภทโคร์ออดิเนตโคเวเลนซ์คือ พันธะโคเวเลนต์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากคู่อะตอมของธาตุมีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน โดยคู่อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันมาจากอะตอมใดอะตอมหนึ่งเพียงอะตอมเดียว 

 

 

 

 

 



การรบกวนสมดุล และ หลักของเลอ ชาเตอลิเอ The Principle of Le Chatelier

ระบบที่อยู่ในสภาวะสมดุล เมื่อถูกรบกวน ทำไห้เกิดการเสียสมดุล ระบบจะต้องพยายามปรับกลับมาไห้อยู่ในสมดุลเหมือนเดิมซึ่งหลักนี้คือหลักของเลอชาเตอลิเอ(Le Chatelier)



ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล 1. การเปลี่ยนความเข้มข้นของสาร 2. การเปลี่ยนความดันของระบบ 3. การเปลี่ยนอุณหภูมิ  
1.ผลของการเปลี่ยนความเข้มข้นต่อภาวะสมดุล 1. เพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น หรือลดความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา คือ ปฏิกิริยาจะไปข้างหน้ามากขึ้น 2. เพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ หรือลดความเข้มข้นของสาร ตั้งต้นสมดุลจะเลื่อนไปทางซ้าย คือ ปฏิกิริยาย้อนกลับจะเกิดได้ดีขึ้น เพิ่มซ้ายไปขวา ลดขวาไปขวา
2. ผลของการเปลี่ยนความดันต่อภาวะสมดุล
  • จะมีผลก็ต่อเมื่อ  ระบบมีสารอย่างน้อยหนึ่งชนิดเป็นแก๊ส
  จำนวนโมลของสารตั้งต้นที่เป็นแก๊สต้องไม่เท่ากับจำนวน โมลของสารผลิตภัณฑ์ เพิ่มความดัน ทำให้สมดุลปรับตัวไปทางด้านจำนวนโมลของแก๊สน้อย ลดความดัน สมดุลจะปรับตัวไปด้านที่มีโมลแก๊สมากกว่า
3.ผลของการเปลี่ยนอุณหภูมิ ต่อภาวะสมดุล
 1. ปฏิกิริยาดูดความร้อน
 ถ้าเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลจะปรับตัวเกิดปฏิกิริยา ไปข้างหน้ามาก ขึ้น ทำให้ได้สาร ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น และ ค่า K มากขึ้น
 2. ปฏิกิริยาคายความร้อน
 ถ้าเพิ่มอุณหภูมิ สมดุลจะปรับตัวเกิดปฏิกิริยา ย้อนกลับมาก ขึ้น ทำให้ได้สาร ตั้งต้นเพิ่มขึ้น และ ค่า K ลดลง