วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคมีอินทรีย์2

แรงภายนอก (second force)
(ขึ้นกับมวลm) 1.วันเดอวาลล์ Van de wanls
(แรงน้อยที่สุด)1.London ไม่มีขั้ว(ยิดติดด้วยแรง Dispersion Force แรงแพร่กระจาย)
(แรงปานกลาง)2.dipole-dipole ขัวบวก ขั้วลบ(สารที่ดึง e- ได้ดีกว่า)
   2. Hydrogen bound (แรงมากที่สุด)(ไม่ขึ้นกับมวลm)
 
   แรงภายใน - สมบัติทางเคมี
แรงภายนอก  - สมบัติทางกายภาพ
 
อีมัลซิฟายเออร์ สารที่เชื่อมโมเลกุลที่เชื่อมต่อไม่ได้ด้วยแรงภายนอก
 
  สารทีผสมแล้วจะได้พันธะ โดยไม่ต้องอาศัยอีมัลซิฟายเออร์
  คือสารที่ผสมต้องมีพันธะโมเลกุลที่อ่อนแอกว่า
 
เช่น
 
  London ผสมกับ Hydrogen bound ไม่ได้
  dipole - dipole ผสมกับ Hydrogen bound ได้ปานกลาง
  Hydrogen bound ผสมกับ Hydrogen bound ผสมได้ดี
 
จะสังเกตว่าสารที่จะผสมกันได้ดีนั้น ควรจะอยู่ในระดับพลังงานเดียวกัน
การเขียนสูตรโครงสร้างเคมีอินทรีย์ 4แบบ
1.สูตรโมเลกุล เช่น C6H12O6
 

2.สูตรแบบจุด\แบบเส้น เช่น
 
 
               
                         หรือ                     
 
 
 
 
 
 
 
3.สูตรแบบย่อ
สามารถย่อพันธะเดี่ยวได้ทั้งหมดหรือย่อบางส่วน โดยพันธะคู่และพันธะสามจะยังคงไว้  โครงสร้างแบบย่อมีข้อดีกว่าการเขียนด้วยโครงสร้างแบบลิวอิส เพราะใช้เนื้อที่น้อย เขียนได้สะดวกและรวดเร็ว แต่อาจพิจารณาโครงสร้างของโมเลกุลได้ยากและสับสน
 
 
จะได้ว่า
 
      CH3 CH2 CH2 CH3
 
สูตรแบบย่อ  CH3 (CH2)2 CH3
 
ข้อควรระวัง โซ่ปิดสามารถเขียนแบบย่อได้
        โซ่เปิดไม่สามารเขียนแบบย่อได้
 
4.สูตรแบบเส้นและมุม
ใช้เส้นตรงแทนพันธะระหว่างคาร์บอน ถ้ามีจำนวนคาร์บอนต่อกันมากกว่า 2 อะตอมให้ใช้เส้นต่อกันแบบซิกแซกแทนสาย โซ่ของคาร์บอนที่ปลายเส้นตรงและแต่ละมุมของสายโซ่แทนอะตอมของคาร์บอนที่ต่อ อยู่กับไฮโดรเจนในจำนวนที่ทำให้คาร์บอนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ถ้าในโมเลกุลมีหมู่อะตอมแยกออกมาจากสายโซ่ของคาร์บอน ให้ลากเส้นต่อออกมาจากสายโซ่ และให้จุดตัดของสายโซ่แทนอะตอมของคาร์บอน  เช่น
 
 
สำหรับโมเลกุลที่เป็นวง ให้เขียนพันธะแสดงตามรูปเหลี่ยมที่เป็นวงนั้น
 
การแบ่งประเภทของ สารประกอบ Carbon
 
1.ลักษณะของปฎิกริยา
 
1.1 Saturated Compounds (อิ่มตัว)
พันธะซิกมาทั้งหมด
1.2 Unsaturated Compounds
มี่พันธะพายอย่างน้อยหนึ่งตัว
 
2.ใช้โครงสร้างเป็นเกณฑ์
2.1Aliphatic Compounds โซ่เปิดมีหัวท้าย
2.1.1 Straight chain
2.1.2 Branched Chain

                  2.2 Alicyclic Compounds
 
3.Aromatic Compounds
 Alicyclic Compounds
ที่มี e- พาย = 4n + 2
แล้ว n เป็น จำนวนจริง (Huckle's rule) 
 
4. Heterocyclic Compounds
โซ่ปิดที่ไม่ได้ประกอบด้วยคาร์บอนทั้งหมด
 
 

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคมีอินทรีย์ เกริ่นนำ

เคมีอินทรีย์(Organic Chemistry)
บทนำ
เป็นวิชาเกี่ยวกับสารประกอบของธาตุ Carbon ซึ่งมักมี Hydrogen เข้ามาเกี่ยวด้วย C-H
ในยุคโบราณ ไม่มีใครกล้ายุ่งกับสารอินทรีย์เพราะเชื่อว่า ธรรมชาติ ไม่สามารถแตะต้อง เปลี่ยนแปลง สังเคราะห์ได้ จนในปี 1828 Friedrich Wohler นักเคมีเยอรมัน ได้สังเคราะห์ Urea ขึ้นจากสารอนินทรีย์ได้สำเร็จ จึงถือว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของวิชาเคมีอินทรีย์ และอาจกล่าวได้ว่า Friedrich Wohler เป็นบิดาแห่งวิชา Organic Chemistry

Friedrich Wohler 
สมบัติของสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์
1.                    ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลัก และธาตุอื่นๆ เช่น H, O, N, S, Cl, Br เป็นต้น
2.                    ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบโคเวเลนต์
3.                    จุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสารประกอบโคเวเลนต์ ยกเว้น สารอินทรีย์เป็นประเภทพอลิเมอร์บางชนิดที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
4.                    สารอินทรีย์ที่ติดไฟได้จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือเขม่าสีดำ ซึ่งเป็นผลละเอียดของธาตุคาร์บอน
5.                    สารอินทรีย์มีปรากฏการณ์ไอโซเมอริซึม คือ สูตรโมเลกุล

 ทฤษฏีพันธะ (Chemical Bonding Theory)  
เป็นการศึกษาสมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมีของสารอินทรีซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยพันธะ C ที่เกิดจากการใช้คู่อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) โดย C จะมีการจัดเรียงตัวของ e- ดังนี้ 1s2 2s2 2p2 ซึ่งจากการตัดเรียนตัวดังกล่าวจะพบว่า C มีอิเล็กตรอนเดี่ยว 2 ตัวก็น่าจะสร้างได้เพียง 2 พันธะ แต่ในความเป็นจริง C กลับสร้างได้ถึง 4 พันธะ ทฤษฏีที่ใช้อธิบายหลังการดังกล่าวเรียกว่า ทฤษฏีพันธะเวเลนต์ (Valent Bond Theory)

                 ทฤษฏีพันธะเวเลนต์ (Valent Bond Theory) เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการเกิดพันธะที่ซ้อนเหลื่อมกัน กล่าวคือ C ได้รับพลังงานในถ่ายเถ e- 1ตัวจากออร์บิทอล 2s ไปสู่ 2p (1s2 2s1 2px1 2py1 2pz1 ) เกิดการผสมกันของ e- ในออร์บิทอล 2s และ 2p จะเรียกการผสมแบบนี้ว่า    ไฮบริไดเซชัน (Hybridization)

Hybridization ของ Carbon มี 3 รูปแบบ
 1. ไฮบริไดเซชันแบบ sp3 เกิดจากการผสม e- ใน 2s จำนวน 1 ออร์บิทอล กับ 2px 2py 2pz จำนวน 3 ออร์บิทอล ได้เป็น   4   ออร์บิทอลใหม่ มีลังษณะโครงสร้างเป็นทรงสี่หน้า (Tetrahedral) โดยออร์บิทอลทั้ง 4 นี้จะสร้างพันธะเดี่ยวที่เรียกว่า พันธซิกมา และ e- ที่ใช้สร้าง σ bonds ว่า electron sigma (σ electron)
2. Hybridization แบบ sp2 เป็นการผสมของ e- ใน 2s จำนวน 1 orbital  และ 2p อีก 2 orbital เกิดเป็น orbital ผสม 3 orbital ทำมุม 120 องศา เป็น AX3 สามเหลี่ยมแบนราบ (Trigonal Planar) มี e- เหลือใน 2pz อีก 1 orbital  orbital ผสม 3 orbital สร้าง σ bonds (พันธะซิกมา) ส่วน e- ที่เหลือใน 2pz จะใช้สร้าง พันธะไพ (π bonds) เรียก e- ที่ใช้สร้าง π bonds ว่า π electron 
3. Hybridization แบบ sp เป็นการผสมของ e- ใน 2s: 1 orbital  และ 2px 1 orbital เกิดเป็น orbital ผสม 2 orbital ทำมุม 180 องศา เป็น AXเส้นตรง (Linear) มี e- เหลือใน 2py และ 2pz อีก 2 orbital  orbital ผสม 2 orbital สร้าง σ bonds (พันธะซิกมา) ส่วน orbital ที่เหลือ 2 orbital สร้าง พันธะไพ (π bonds)