วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

Amine

Amine
เอมีนเป็นอนุพันธ์อินทรีย์ (organic derivatives) ของแอมโมเนีย (NH3) โดยมีหมู่ alkyl เข้ามาแทนที่hydrogen







เรียกชื่อ
ซึ่ง จะอยู่ภายในวงเล็บสําหรับตัวอย่างข้างล่างนี้ จะเรียกโดยการเรียกชื่อโซ่หรือวงแหวนหลักที่มีหมู่เอมีนต่ออยู่เป็น alkane จากนั้นตัด -e แล้วเติม –amineลงไปแทนเช่น  
1.Primary amine 





สำหรับ secondary และ tertiary amine  จะใช้N-ตามด้วยชื่อหมู่แทนที่ที่ต่ออยู่กับไนโตรเจน (N-alkyl)เติมหน้าชึ่อหลักเดิมเช่น  
2.Secondary amine 





3.Tertiary amine 








สมบัติ
1. จุดเดือดเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น
  
2. เมื่อเปรียบเทียบจุดเดือดของแอลเคน เอมีน และแอลกอฮอล์ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน พบว่าเอมีนมีจุดเดือดสูงกว่าแอลเคน แต่ต่ำกว่าแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลเคนเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เอมีนเป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงมีทั้งแรงลอนดอนและแรงดึงดูดระหว่างขั้ว นอกจากนี้เอมีนยังสามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้ด้วย สำหรับเอมีนกับแอลกอฮอล์เป็นโมเลกุลที่มีขั้วทั้งคู่   แต่สภาพขั้วของเอมีนอ่อนกว่าแอลกอฮอล์ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจึงน้อยกว่าแอลกอฮอล์
จุดเดือด   แอลกอฮอล์ > เอมีน > แอลเคน

ปฏิกิริยา
primary ---> secondary




sencondary ---> tertiary
 


Carboxylic acid Derivative

Carboxylic acid Derivative(อนุพันธ์ของกรดอินทรีย์)

Ester





เรียกชื่อ
เรียกชื่อหมู่แอลคิลหรือหมู่แอริลจากแอลกอฮอล์ แล้วตามด้วยชื่อของกรดคาร์บอกซิลิก เปลี่ยนคำลงท้ายจาก – ic เป็น –ate
สมบัติ
1. เอสเทอร์กับกรดคาร์บอกซิลิกเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกัน โดยเอสเทอร์จะมีจุดเดือดต่ำกว่ากรดคาร์บอกซิลิก เนื่องจากเอสเทอร์ไม่มีพันธะไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลจึงน้อยกว่ากรดคาร์บอกซิลิก
2. เมื่อมีจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้น เอสเทอร์จะมีจุดเดือดสูงขึ้น
3. เอสเทอร์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจะละลายน้ำได้ แต่สภาพละลายได้จะลดลงเมื่อจำนวนอะตอมเพิ่มขึ้น
4.มีกลิ่นเฉพาะตัว 
ปฏิกิริยา
1.ปฏิกิริยาการแยกสลาย เอสเทอร์เกิดปฏิกิริยาการแยกสลายได้ทั้งในสารละลายที่เป็นกรดหรือเบส




ในสารละลายที่เป็นเบสจะให้ผลผลิตเป็นเกลือของกรดคาร์บอกซิลิกและแอลกอฮอล์





2.ปฏิกิริยารีดักชั่น เอสเทอร์ถูกรีดิวซ์ด้วย LiAlH4 ให้ผลผลิตเป็นแอลกอฮอล์




3.ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (hydrolysis) โดยมีกรดซัลฟิวริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูง








Amide
 
เอไมด์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C , H , O และ N เกิดจากหมู่อะมิโน (–NH2) เข้าไปแทนที่หมู่คาร์บอกซิล
(–
COOH
) ในกรดคาร์บอกซิลิก โดยมีสูตรทั่วไปและมีหมู่ฟังก์ชันดังนี้

เรียกชื่อ
เรียกตามจำนวนอะตอมแล้วตามด้วย -anamide
 สมบัติ
1. เอไมด์เป็นโมเลกุลมีขั้ว มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นพันธะไฮโดรเจน
  
2. จุดเดือดของเอไมด์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมของคาร์บอน เอไมด์ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง และจุดเดือดสูงกว่าเอมีนที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของเอไมด์สูงกว่าเอมีน พันธะไฮโดรเจนที่เกิดระหว่างหมู่ -CO -NH
 
3. เอไมด์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็กละลายน้ำได้ แต่สภาพละลายได้จะลดลงื่อจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้น จนถึงไม่ละลายน้ำ สารละลายของเอไมด์มีสมบัติเป็นกลาง เนื่องจากอะตอมของออกซิเจนในหมู่คาร์บอนิลดึงดูดอิเล็กตรอนจากอะตอมของไนโตรเจนในหมู่อะมิโน เป็นผลทำให้ไนโตรเจนมีสภาพขั้วไฟฟ้าค่อนข้างบวก จึงไม่สามารถรับโปรตอนจากน้ำได้

ปฏิกิริยา
Hidolisisในกรดและเบส


  
 





Carboxylic acid

Carboxylic acid
เป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซิล(-COOH) มีสูตรทั่วไปคือ R-COOH

การเรียกชื่อ
ตามจำนวน c แล้วตามด้วย-aonic acid
เช่น
สมบัติ
ละลายน้ำได้เนื่องจากมีขั้วสูง มีหมู่มีขั้วถึง2หมู่ คือ -OH C=O
ปฏิกิริยา
1.แทนที่หมู่OHจะถูกแทนที่ด้วยอะตอมที่มีประจุลบ

 





2.ปฎิกิริยารีดักชั่น การรีดิวซ์กรดคาร์บอกซิลิกต้องใช้ตัวรีดิวซ์ที่รุนแรงเพราะกรดนี้รีดิวซืยาก ตัวรีดิวซ์ที่นิยมใช้คือ LiAiH4 ได้ผลผลิตเป็นแอลกอฮอล์




วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

aldehyde&ketone

Aldehyde & Ketone
Aldehyde




เรียกชื่อ
เรียกชื่อตามalkaneแล้วตัด-eเเล้วเติม-nal
*ถ้ามีกลุ่มอื่นมาเกาะไห้เรียกก่อน เช่น
 สมบัติ
1.มีขั้ว
2.ละลายน้ำได้ดี

Ketone






เรียกชื่อ
เรียกชื่อตามalkaneแล้วตัด-eเเล้วเติม-anone
*และบอกตำแหน่งcarbonylที่น้อยสุด

  



สมบัติ
1. คีโตนเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับอลดีไฮด์
2. โมเลกุลเล็ก ๆ ละลายน้ำได้ เมื่อจำนวนอะตอมคาร์บอนเพิ่มขึ้นจะละลายน้ำได้น้อยลง

3. จุดเดือดเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมคาร์บอนเนื่องจากมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงขึ้น
4. เมื่อเปรียบเทียบจุดเดือดของแอลเคน แอลดีไฮด์ คีโตน และแอลกอฮอล์ ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน พบว่าจุดเดือดจะเรียงดับดังนี้



 *แอลดีไฮด์และคีโตนมีจุดเดือดสูงกว่าแอลเคน เพราะแอลดีไฮด์และคีโตนเป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าแอลเคนซึ่งเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เนื่องจากแอลดีไฮด์และคีโตนไม่มีพันธะไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลด้วยกันเอง จึงทำให้มีจุดเดือดต่ำกว่าแอลกอฮอล์

ปฏิกิริยาKetone & Aldehyde
 1 ปฏิกิริยาการเติม (addition) เนื่องจากคาร์บอนของหมู่คาร์บอนิลมีสถาพขั้วเป็นบวก เพราะออกซิเจนมีขั้วเป็นลบ จึงสามารถทำปฏิกิริยากับอะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุเป็นลบได้ เช่น ปฏิกิริยากับ HCN







 2 ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) แอลดีไฮด์ถูกออกซิไดส์ได้ง่ายกว่าคีโตนด้วยตัวออกซิไดส์หลายชนิด เช่น [Ag(NH3)2]+ , H2O2 , KmnO4 เป็นต้น เมื่อ
แอลดีไฮด์ถูกออกซิไดส์จะได้กรดคาร์บอกซิลิก
 คีโตนต้องใช้สภาวะที่รุนแรงจึงจะเกิดปฏิกิริยานี้ได้ ให้ผลผลิตเป็นเอสเทอร์ 
 3 ปฏิกิริยารีดักชัน (reduction) แอลดีไฮด์และตีโตนสามารถเกิดปฏิกิริยารีดักชันได้ เมื่อมีตัวรีดิวส์ เช่น NaBH4 , LiAlH4 เป็นต้น ได้ผลผลิตเป็นแอลกอฮอล์ 
แอลดีไฮด์จะให้แอลกอฮอล์ปฐมภูมิ
 คีโตนได้แอลกอฮอล์ทุติยภูมิ

ether

Ethers
อีเทอร์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็น หมู่แอลคอกซี (alcoxy , R–O–R’) มีสูตรทั่วไปเป็น R-O-R’ มีสูตรโมเลกุลเหมือนแอลกอฮอล์และฟีนอล จึงเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับแอลกอฮอล์และฟีนอล

เรียกชื่อ
 เรียกตามระบบ IUPAC ให้เรียกเป็นหมู่ prefix ว่า หมู่ alkoxy- เช่น
methoxy-  (CH3O-)
และ ethoxy-  (CH3CH2O-) 
ปฏิกิริยา
 อีเทอร์ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาทางเคมี สำหรับปฏิกิริยาที่เกิดกับอีเทอร์ได้แก่
1 ปฏิกิริยาของอีเทอร์กับ HI หรือ HBr ที่เข้มข้นและร้อน เช่น 
 และถ้าใช้ HIมากเกินพอ (excess) ROHจะเกิดปฏิกิริยาต่อเป็น RI
  
 2 ปฏิกิริยาของอีเทอร์กับออกซิเจนให้สารประกอบ hydroperoxide (ROOH)
เช่น
 
 
สมบัติ
1.ไม่ละลายน้ำ
2.จุดหลอมเหลวต่ำ
3.หนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
4.มีขั้วเล็กน้อย
5. ไม่มีพันธะHจึงมีจุดหลอมเหลวต่ำ 

alcohols

Alcohols
สูตรทั่วไป(R-OH)
ชื่อระบบ IUPAC
1. เลือกโครงสร้างหลักที่มีคาร์บอนต่อกันยาวที่สุด และมีหมู่ –OH อยู่ด้วย
2. บอกตำแหน่ง –OH ด้วยเลขที่มีค่าน้อยที่สุด
3. ชื่อโครงสร้างหลักให้เรียกตามจำนวนอะตอม C แล้วลงท้ายเสียงเป็น –อานอล (–anol)  





















สมบัติ 
เมื่อแอลกอฮอล์ละลายน้ำ หมู่ –OH ในแอลกอฮอล์จะไม่แตกตัวเป็นไฮดรอกไซด์ไอออน (OH) เช่นเดียวกับ OH ในโลหะไฮดรอกไซด์ เช่น NaOH เนื่องจากพันธะระหว่างหมู่ –OH กับหมู่แอลคิลในแอลกอฮอล์เป็นพันธะโคเวเลนต์ แต่พันธะระหว่างหมู่ OH กับโลหะไอออนเป็นพันธะไอออนิก โมเลกุลของแอลกอฮอล์มีทั้งส่วนที่มีขั้วคือหมู่ –OH และส่วนที่ไม่มีขั้วคือหมู่แอลคิล
ปฏิกิริยา
1. ปฏิกิริยาแทนที่ (substitution) หมู่ OH ของแอลกอฮอล์สามารถถูกแทนที่ด้วยอะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุเป็นลบ (nucleophile) ได้เช่น

2. ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) แอลกอฮอล์สามรถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันให้ผลผลิตแตกต่างกันตามชนิดของ แอลกอฮอล์ที่เป็นสารตั้งต้น ถ้าแอลกอฮอล์เป็นชนิดปฐมภูมิ (1องศา -alcohol) คือ หมู่ OH เกาะกับอะตอมคาร์บอนที่เกิดพันธะกับคาร์บอนข้างเคียงเพียง 1 พันธะจะได้สารประกอบแอลดีไฮด์ 
 2.1 ปฐมภูมิ




2.2 ทุติยภูมิ