วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

เคมีอินทรีย์3

Isomerism
 หมายถึง  ปรากฏการณ์ที่สารต่างชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่สูตรโครงสร้างและสมบัติแตกต่างกัน  และเรียกสารแต่ละชนิดว่า  ไอโซเมอร์  (Isomer)   สารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก จะมีจำนวนไอโซเมอร์น้อยกว่าสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ขึ้น  เมื่อมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนเพิ่มขึ้น  ก็จะมีจำนวนไอโซเมอร์เพิ่มขึ้น



การพิจารณาว่าสารคู่หนึ่งเป็นไอโซเมอร์กันหรือไม่
1. ถ้าประกอบด้วยธาตุต่างชนิดกัน จะไม่เป็นไอโซเมอร์กัน
2. ถ้าประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกัน และจำนวนอะตอมเท่ากัน จะต้องพิจารณาขั้นต่อไป

ก)  ถ้าสูตรโครงสร้างเหมือนกัน จะเป็นสารชนิดเดียวกัน ไม่เป็นไอโซเมอร์กัน  เช่น
ข)   ถ้าสูตรโครงสร้างต่างกัน จะเป็นเป็นไอโซเมอร์กัน  เช่น 
  1)C5H12 มี 3 ไอโซเมอร์



                  2) C5H10 มีไอโซเมอร์ที่เป็นโซ่เปิด 6 ไอโซเมอร์ โดยเป็นโซ่ตรง 2 ไอโซเมอร์ และโซ่กิ่ง 3 และแบบวงอีก 1 ไอโซเมอร์
 
หลักการเขียนไอโซเมอร์

1. พิจารณาจากสูตรโมเลกุลก่อนว่าเป็นสารประเภทใด
2. เมื่อทราบว่าเป็นสารประเภทใดแล้วจึงนำมาเขียนไอโซเมอร์
3. ถ้าเป็นสารพวกโซ่เปิด (Open chain หรือ Acyclic) มักจะเริ่มเขียนไอโซเมอร์จากตัวที่มี C ต่อกันเป็นสายตรงยาวที่สุดก่อน หลังจากนั้นจึงลดความยาวของ C สายตรงลงครั้งละอะตอม
4. ในกรณีที่เป็นไฮโดรคาร์บอนแบบวง (Cyclic chain) มักจะเริ่มจากวงที่เล็กก่อน คือเริ่มจาก C 3 อะตอม แล้วจึงเพิ่มเป็น 4 อะตอม ตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น