วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สารประกอบAlkynes


แอลไคน์ (Alkyne)

แอลไคน์ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทไม่อิ่มตัวเช่นเดียวกับแอลคีน พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนเป็นพันธะสาม
[ C º C –] มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n–2 จึงมี H น้อยกว่าแอลคีนอยู่ 2 อะตอม
การเรียกชื่อแอลไคน์
 ชื่อสามัญ
 ใช้เรียกชื่อแอลไคน์ที่โมเลกุลเล็ก ๆ โดยเรียกเป็นอนุพันธ์ของอะเซทิลีน (acetylene C2H2)  ให้โครงสร้างของอะเซทิลีนเป็นหลัก และถือส่าส่วนที่ต่ออยู่กับ – C º C – เป็นหมู่แอลคิล
 ชื่อระบบ IUPAC
 การเรียกชื่อแอลไคน์ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับแอลเคนและแอลคีนขึ้นต้นชื่อด้วยจำนวนอะตอมคาร์บอน แต่ลงท้ายเสียงด้วย ไอน์ (–yne)
สมบัติทางกายภาพ
 1.  แอลไคน์เป็นสารโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว จึงไม่ละลายน้ำ
 2.  มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
 3. จุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ เพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอม C เมื่อเปรียบกับแอลเคน แอลคีน  และแอลไคน์  ที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนเท่ากัน  จะมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวเรียงลำดับดังนี้


แอลไคน์  >  แอลเคน  >  แอลคีน


ปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาการเติม (Addition reaction) แอลไคน์เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว จึงเกิดปฏิกิริยาการเติมเฮโลเจน
1)    ปฏิกิริยาการเติมเฮโลเจน แอลไคน์ฟอกจางสีสารละลายโบรมีนได้ โดยไม่ต้องใช้ตัวเร่ง ปฏิกิริยาหรือแสงสว่าง

2)  ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน หรือ hydrogenation แอลไคน์สามารถเกิดปฏิกิริยากับไฮโดรเจนโดยมี Pt , Ni , Pd เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้แอลคีนและแอลเคนตามลำดับ


ปฏิกิริยาฟอกจางสี KMnO4 ปฏิกิริยาระหว่างแอลไคน์กับ KMnO4 พบว่าในโมเลกุลที่มีตำแหน่งของพันธะสามต่างกันผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจะต่างกันด้วย โดยแอลไคน์ที่มีพันธะสามอยู่ที่อะตอมของ C ตำแหน่งที่ 1 เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วจะได้กรดคาร์บอกซิลิก (RCOOH) เขียนสมการได้ดังนี้

3 H C º C–H + 8 KMnO4  +  4 H2O       3 RCOOH  +  3 CO2  +  8 MnO2  +  8 
 KOH

แอลไคน์ที่มีพันธะสามอยู่ที่อะตอมของ C ตำแหน่งที่ 2 เป็นต้นไป เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วจะได้ α-diketones  () เขียนสมการได้ดังนี้
3 R C º C–R + 4 KMnO4  +  2 H2O  3+  4 MnO2  +  4 KOH


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น